วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

วัสดุอุปกรณ์ต่อการเลี้ยงผึ้งวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้ง ผู้เลี้ยงผึ้งที่ดีจะต้องพิถีพิถันเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เป็นอย่างมาก วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งควรจะมีคุณภาพและได้ มาตรฐานซึ่งจะมีผลถึงความคล่องตัวในการปฏิบัติงานกับรังผึ้ง ทั้งยังสะดวกในการประกอบชิ้นส่วนแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และง่ายต่อการดูแลรักษาวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี อาจทำให้เราต้องลงทุนสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะแรกๆ แต่ก็ให้ผล คุ้มค่าในระยะยาว วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้งที่สำคัญมีดังนี้ ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย มักเป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบา อบแห้งสนิท ไม่ยืด ไม่หด และไม่บิดเบี้ยว เหตุที่จำเป็นต้องใช้ไม้เบาเพราะทุ่นแรงในการยกลง ขณะปฏิบัติงาน ผู้เลี้ยงผึ้งทางภาคเหนือของประเทศไทยเรานิยมใช้ไม้สัก ซึ่งมีความเบาคงทนถาวรและไม่บิดตัว ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทยนั้น คล้ายกับชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงฝรั่ง ประกอบไปด้วย ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญต่อไปนี้คือ ฐานรัง ฐานรังจะต้องมีขนาดที่รองรับตัวหีบเลี้ยงได้ โดยจะต้องมีขนาดกว้างเท่ากับหีบมาตรฐาน แต่มีความยาวยื่นออกมาทางด้านหน้าให้ยาวกว่าตัวหีบประมาณ ๒ นิ้ว เพื่อเป็นลานบินของผึ้ง ฐานรังจึงมีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ ๑๖ ๑/๔x ๑๙ นิ้ว หน้าไม้ที่นำมาประกอบฐานรังเมื่อไสกบแล้วควรหนา ๑ ๗/๘นิ้ว ที่ด้านบน ส่วนหน้าของฐานรังมีไม้สอดอยู่ ไม้นี้จะเจาะหรือบากเอาไว้สองด้าน ให้มีขนาดเล็กและใหญ่ ไม้ ส่วนนี้เรียกว่า ไม้ลดขนาดปาก ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เลี้ยงผึ้งที่จะพลิกแท่งไม้ส่วนนี้กลับไปมา เพื่อปิด ลด หรือ ขยายปากทางเข้าออกรังผึ้งได้ตามต้องการ หีบมาตรฐาน หีบมาตรฐานมีขนาดที่จะบรรจุคอนได้ ๑๐ คอนด้วยกัน แต่ผู้เลี้ยงผึ้งนิยมใส่เพียง ๙ คอน หีบมาตรฐานของผึ้งโพรงไทยนั้นสั้นกว่าหีบมาตรฐานของผึ้งโพรงฝรั่ง เพื่อความสะดวกในการยกคอนขึ้นลง ขนาดของหีบมาตรฐานสูง x กว้าง x ยาว เท่ากับ ๙ ๑/๒x ๑๖ ๑/๔x ๑๗ นิ้ว ที่ผนังด้านในของส่วนความกว้าง ส่วนขอบด้านบนทั้งสองด้าน ก็จะเซาะเป็นร่องบ่า เพื่อรองรับคอนหรือกรอบรวง หีบมาตรฐานนี้หีบหนึ่งเมื่อนำไปใช้ ถ้ารวงมีน้ำผึ้งอยู่เต็ม ๙ - ๑๐ รวง เมื่อรวมกับน้ำหนักของหีบแล้ว ก็จะหนักประมาณ ๒๐ - ๒๕ กิโลกรัม สำหรับรังผึ้งโพรงฝรั่งที่ยังสมบูรณ์และอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อความสะดวกผู้เลี้ยงที่เคยเลี้ยงผึ้งโพรงฝรั่งมาก่อน สามารถนำหีบมาตรฐานของผึ้งโพรงฝรั่งมาเลี้ยงผึ้งโพรงไทยได้ทันที โดยทำคานกั้นภายในหีบให้สั้นลงเหลือ ๑๗ นิ้ว เพื่อรับกับคอนของผึ้งโพรงไทยซึ่งมีขนาดสั้นกว่าได้ (ขนาดของหีบมาตรฐานผึ้งโพรงฝรั่งเท่ากับ ๙ ๑/๒x ๑๖ ๑/๔ x ๒๐ นิ้ว) คอนหรือกรอบรวง ชิ้นส่วนที่สำคัญนอกเหนือจากหีบเลี้ยงก็คือคอน หรือบางคนอาจเรียกว่ากรอบรวง คอนเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยไม้ ๔ ส่วนด้วยกันคือ คานบน ๑ ส่วน ไม้ประกบข้าง ๒ ส่วน และคานล่างอีก ๑ ส่วน เมื่อต่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็เป็นที่ที่ผึ้งสร้างรวงรัง ขนาดของคอนหรือกรอบรวงที่เลือกใช้นั้น ก็จะต้องสัมพันธ์กับขนาดของหีบเลี้ยงด้วย ความยาวจะต้องมีขนาดมาตรฐานเท่ากับหีบมาตรฐานคือยาว ๑๖ ๑/๔นิ้ว โดยเว้นที่ปลายด้านละ ๓/๔นิ้ว ไว้เพื่อเป็นที่บ่ารองรับน้ำหนักวางพาด หรือแขวนอยู่ได้ ส่วนความสูงของคอนนั้น ขึ้นอยู่กับความสูงของหีบที่ใช้ คือถ้าใช้กับหีบเลี้ยงมาตรฐาน ซึ่งมีความสูง ๙ ๑/๒นิ้ว เพื่อที่จะให้คอนแขวนอยู่ในหีบได้พอดีแล้ว คอนที่ใช้จึงควรจะมีความสูงเท่ากับ ๘ ๑/๔นิ้ว เพื่อให้แผ่นฐานรวงยึดติดกับคอนอย่างเหนียวแน่นพอสมควร ที่ตรงกลางของด้านล่างของคอนบนและตรงกลางด้านในของคอนล่าง เราจึงจำเป็นต้องเซาะให้เป็นร่องยาวตลอดแนวเพื่อยึดแผ่นฐานรวงให้ติดอยู่ และเจาะรูเล็กๆ ที่ไม้ประกอบด้านข้างทั้ง ๒ ส่วน จำนวน ๓-๔ รู ขึงลวดเหนียวเส้นเล็กระหว่างไม้ประกบข้างทั้ง ๒ ส่วน เพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแรงให้กับรวงซึ่งจะช่วยให้รวงผึ้งไม่หลุดจากคอนในขณะที่นำเข้าไปสลัดน้ำผึ้งในเครื่อง ฝาชั้นใน ฝาชั้นในมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดก็คือ ป้องกันไม่ให้ผึ้งแตกตื่นบินสวนออกมาเมื่อเราเปิดฝาครอบนอกของรังผึ้งออก ฝาชั้นในยังเป็นฉนวนช่วยกั้นความร้อนจากแสงแดดในฤดูร้อน รักษาความอบอุ่นภายในรังเอาไว้ เมื่อภายนอกมีอุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้ก็ยังช่วยในการระบายและถ่ายเทอากาศให้กับรังผึ้งด้วย สำหรับวัสดุที่ใช้ มักจะใช้แผ่นกระดาษหรือไม้อัดแข็ง โดยมีไม้ตีเป็นกรอบขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ ขนาดของหีบเลี้ยง คือ ขนาด ๑๖ ๑/๔x ๑๗ นิ้ว เพื่อที่จะได้วางทับลงบนหีบได้พอดี ที่ตรงกลางของฝาชั้นในก็จะเจาะเป็นรูกลม ๑ รู เพื่อช่วยในการระบายอากาศ ฝาชั้นนอก เป็นฝาที่สวมครอบลงบนหีบเลี้ยง ทำหน้าที่กันฝนและแสงแดดให้กับรังผึ้ง ฝาชั้นนอกอาจจะใช้ไม้อัดธรรมดา ตัดขนาด ๑๖ ๑/๔x ๑๙ นิ้ว และที่ด้านบนของฝาชั้นนอกก็จะใช้สังกะสีปิดทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันเนื้อไม้ไม่ให้ผุเร็ว และยังช่วยให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์สะท้อนกลับ แผ่นฐานรวง หรือแผ่นรังเทียม ก็คือ แผ่นไขผึ้งที่พิมพ์ให้เป็นรอยตารางหกเหลี่ยมทั้งสองด้านและขนาดตารางหกเหลี่ยมนี้ จะเท่ากับขนาดของความกว้างของหลอดรวงของรวงผึ้งโพรงไทยตามธรรมชาติ ซึ่งเล็กกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง แผ่นฐานรวงผึ้งโพรงไทย ๑ ตารางนิ้ว จะมีจำนวน ๗๐ หลอดรวงทั้งสองด้าน โดยทั่วไปแล้วความกว้าง และความยาวของแผ่นฐานรวงจะมีขนาดพอดีที่จะถูกนำมาตรึงตรงกลางของคอนหรือกรอบรวง เพื่อเป็นการเร่งเวลาให้ผึ้งงานสร้างหลอดรวง ต่อจากรอยพิมพ์ที่เป็นตารางหกเหลี่ยมได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นการประหยัดแรงงานของผึ้งงานในการสร้างรวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาการเก็บน้ำผึ้ง เพราะจะมีผลต่อผลิตผลน้ำผึ้งที่เก็บสะสมได้ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการบังคับให้ผึ้งสร้างรวงอยู่แต่เฉพาะในกรอบรวงที่มีแผ่นฐานรวงตรึงติดอยู่เท่านั้น ทำให้รวงผึ้งที่ถูกสร้างขึ้นมาภายในรังผึ้งแต่ละรวงมีความเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นการประหยัดแรงงาน ตลอดทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เลี้ยงผึ้ง และกับผึ้งภายในรังนั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง แผ่นฐานรวงของผึ้งโพรงไทย จะหาซื้อได้ยากกว่าแผ่นฐานรวงของผึ้งโพรงฝรั่งซึ่งมีขนาดใหญ่ (ในเนื้อที่ ๑ ตารางนิ้ว จะมีจำนวน ๕๕ หลอดรวงทั้งสองด้าน) เหล็กงัดรังผึ้ง เมื่อเราจะปฏิบัติงานกับรังผึ้งรังหนึ่งๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีเหล็กงัดรังผึ้งซึ่งทำจากเหล็กเหนียวอย่างดี มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักในการที่ใช้งัดหีบเลี้ยงผึ้งให้แยกออกจากกันได้ เหล็กงัดผึ้งโดยทั่วไปจะมีปลายแบนข้างหนึ่ง เพื่อที่จะใช้กับช่องว่างระหว่างคอนแต่ละคอน หรือระหว่างชั้นของหีบเลี้ยงแต่ละชั้น นอกจากนั้นปลายด้านแบนนี้ยังใช้ในการแซะ ขูด เศษไขผึ้ง หรือยางไม้ที่ติดอยู่ภายในรัง และยังมีประโยชน์ในการขูดเหล็กในผึ้ง ให้หลุดจากผิวหนังของเรา ที่ถูกผึ้งต่อยได้อีกด้วย ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของเหล็กงัดรังจะโค้งเป็นมุมฉากออกไปประมาณ ๑ นิ้ว และมีรูอยู่ ปลายด้านนี้อาจใช้แทนค้อนในการตอกและงัดตะปู ในกรณีที่มีการตอกยึดส่วนประกอบของรังเลี้ยงผึ้งเข้าด้วยกัน ในการขนย้ายรังผึ้งจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง กระป๋องรมควัน เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังผึ้งมากพอๆ กับเหล็กงัดรังผึ้ง โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ ๓ ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกก็ คือกระป๋องที่ทำจากโลหะน้ำหนักเบา อาจเป็นสังกะสีเนื้อดี รูปทรงกระบอก มีฝาปิดเปิดได้สะดวก ที่ฝาทำเป็นรูปกรวยคว่ำและมีรูที่ปลายกรวยเพื่อบังคับทิศทางออกของควัน ส่วนที่สองคือหม้อลม ซึ่งจะใช้เป็นที่จับกระป๋องด้วย เมื่อเราบีบหม้อลม แรงดันอากาศก็จะผ่านท่ออากาศ และเข้าไปใต้กระป๋องที่มีวัสดุเชื้อเพลิงจุดไหม้อยู่ ทำให้เกิดควันพุ่งออกมาทางรูที่ปลายกรวย ชิ้นส่วนสุดท้ายก็คือ แผ่นโลหะบุ เป็นวัสดุที่เป็นฉนวนทนความร้อนห่อหุ้มภายนอกกระป๋อง เพื่อป้องกันผู้เลี้ยงผึ้งไปสัมผัสกับกระป๋องที่กำลังร้อนจัด สำหรับวัสดุเชื้อเพลิง ที่จะใช้จุดให้เกิดควันในกระป๋องนั้น ก็อาจจะใช้ขี้กบไสไม้ ฟาง หญ้าแห้ง เศษใบไม้แห้ง หรือเศษกระสอบป่านแห้งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยแบ่งจุดให้เป็นเชื้อไฟที่ก้นกระป๋องสักเล็กน้อย เมื่อไฟลุกหรือติดดีแล้วจึงค่อยเติมวัสดุเชื้อเพลิงลงไปให้เต็ม อาจใช้เหล็กงัดรังผึ้งกระทุ้งอัดให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้เกิดควันคุอยู่นาน ทำให้ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงหรือจุดใหม่อยู่บ่อยๆ เป็นการสะดวกในขณะปฏิบัติงานในลานเลี้ยงผึ้ง [กลับหัวข้อหลัก]วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้ง ผู้เลี้ยงผึ้งที่ดีจะต้องพิถีพิถันเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เป็นอย่างมาก วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งควรจะมีคุณภาพและได้ มาตรฐานซึ่งจะมีผลถึงความคล่องตัวในการปฏิบัติงานกับรังผึ้ง ทั้งยังสะดวกในการประกอบชิ้นส่วนแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และง่ายต่อการดูแลรักษาวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี อาจทำให้เราต้องลงทุนสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะแรกๆ แต่ก็ให้ผล คุ้มค่าในระยะยาว วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้งที่สำคัญมีดังนี้ ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย มักเป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบา อบแห้งสนิท ไม่ยืด ไม่หด และไม่บิดเบี้ยว เหตุที่จำเป็นต้องใช้ไม้เบาเพราะทุ่นแรงในการยกลง ขณะปฏิบัติงาน ผู้เลี้ยงผึ้งทางภาคเหนือของประเทศไทยเรานิยมใช้ไม้สัก ซึ่งมีความเบาคงทนถาวรและไม่บิดตัว ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทยนั้น คล้ายกับชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงฝรั่ง ประกอบไปด้วย ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญต่อไปนี้คือ ฐานรัง ฐานรังจะต้องมีขนาดที่รองรับตัวหีบเลี้ยงได้ โดยจะต้องมีขนาดกว้างเท่ากับหีบมาตรฐาน แต่มีความยาวยื่นออกมาทางด้านหน้าให้ยาวกว่าตัวหีบประมาณ ๒ นิ้ว เพื่อเป็นลานบินของผึ้ง ฐานรังจึงมีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ ๑๖ ๑/๔x ๑๙ นิ้ว หน้าไม้ที่นำมาประกอบฐานรังเมื่อไสกบแล้วควรหนา ๑ ๗/๘นิ้ว ที่ด้านบน ส่วนหน้าของฐานรังมีไม้สอดอยู่ ไม้นี้จะเจาะหรือบากเอาไว้สองด้าน ให้มีขนาดเล็กและใหญ่ ไม้ ส่วนนี้เรียกว่า ไม้ลดขนาดปาก ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เลี้ยงผึ้งที่จะพลิกแท่งไม้ส่วนนี้กลับไปมา เพื่อปิด ลด หรือ ขยายปากทางเข้าออกรังผึ้งได้ตามต้องการ หีบมาตรฐาน หีบมาตรฐานมีขนาดที่จะบรรจุคอนได้ ๑๐ คอนด้วยกัน แต่ผู้เลี้ยงผึ้งนิยมใส่เพียง ๙ คอน หีบมาตรฐานของผึ้งโพรงไทยนั้นสั้นกว่าหีบมาตรฐานของผึ้งโพรงฝรั่ง เพื่อความสะดวกในการยกคอนขึ้นลง ขนาดของหีบมาตรฐานสูง x กว้าง x ยาว เท่ากับ ๙ ๑/๒x ๑๖ ๑/๔x ๑๗ นิ้ว ที่ผนังด้านในของส่วนความกว้าง ส่วนขอบด้านบนทั้งสองด้าน ก็จะเซาะเป็นร่องบ่า เพื่อรองรับคอนหรือกรอบรวง หีบมาตรฐานนี้หีบหนึ่งเมื่อนำไปใช้ ถ้ารวงมีน้ำผึ้งอยู่เต็ม ๙ - ๑๐ รวง เมื่อรวมกับน้ำหนักของหีบแล้ว ก็จะหนักประมาณ ๒๐ - ๒๕ กิโลกรัม สำหรับรังผึ้งโพรงฝรั่งที่ยังสมบูรณ์และอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อความสะดวกผู้เลี้ยงที่เคยเลี้ยงผึ้งโพรงฝรั่งมาก่อน สามารถนำหีบมาตรฐานของผึ้งโพรงฝรั่งมาเลี้ยงผึ้งโพรงไทยได้ทันที โดยทำคานกั้นภายในหีบให้สั้นลงเหลือ ๑๗ นิ้ว เพื่อรับกับคอนของผึ้งโพรงไทยซึ่งมีขนาดสั้นกว่าได้ (ขนาดของหีบมาตรฐานผึ้งโพรงฝรั่งเท่ากับ ๙ ๑/๒x ๑๖ ๑/๔ x ๒๐ นิ้ว) คอนหรือกรอบรวง ชิ้นส่วนที่สำคัญนอกเหนือจากหีบเลี้ยงก็คือคอน หรือบางคนอาจเรียกว่ากรอบรวง คอนเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยไม้ ๔ ส่วนด้วยกันคือ คานบน ๑ ส่วน ไม้ประกบข้าง ๒ ส่วน และคานล่างอีก ๑ ส่วน เมื่อต่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็เป็นที่ที่ผึ้งสร้างรวงรัง ขนาดของคอนหรือกรอบรวงที่เลือกใช้นั้น ก็จะต้องสัมพันธ์กับขนาดของหีบเลี้ยงด้วย ความยาวจะต้องมีขนาดมาตรฐานเท่ากับหีบมาตรฐานคือยาว ๑๖ ๑/๔นิ้ว โดยเว้นที่ปลายด้านละ ๓/๔นิ้ว ไว้เพื่อเป็นที่บ่ารองรับน้ำหนักวางพาด หรือแขวนอยู่ได้ ส่วนความสูงของคอนนั้น ขึ้นอยู่กับความสูงของหีบที่ใช้ คือถ้าใช้กับหีบเลี้ยงมาตรฐาน ซึ่งมีความสูง ๙ ๑/๒นิ้ว เพื่อที่จะให้คอนแขวนอยู่ในหีบได้พอดีแล้ว คอนที่ใช้จึงควรจะมีความสูงเท่ากับ ๘ ๑/๔นิ้ว เพื่อให้แผ่นฐานรวงยึดติดกับคอนอย่างเหนียวแน่นพอสมควร ที่ตรงกลางของด้านล่างของคอนบนและตรงกลางด้านในของคอนล่าง เราจึงจำเป็นต้องเซาะให้เป็นร่องยาวตลอดแนวเพื่อยึดแผ่นฐานรวงให้ติดอยู่ และเจาะรูเล็กๆ ที่ไม้ประกอบด้านข้างทั้ง ๒ ส่วน จำนวน ๓-๔ รู ขึงลวดเหนียวเส้นเล็กระหว่างไม้ประกบข้างทั้ง ๒ ส่วน เพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแรงให้กับรวงซึ่งจะช่วยให้รวงผึ้งไม่หลุดจากคอนในขณะที่นำเข้าไปสลัดน้ำผึ้งในเครื่อง ฝาชั้นใน ฝาชั้นในมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดก็คือ ป้องกันไม่ให้ผึ้งแตกตื่นบินสวนออกมาเมื่อเราเปิดฝาครอบนอกของรังผึ้งออก ฝาชั้นในยังเป็นฉนวนช่วยกั้นความร้อนจากแสงแดดในฤดูร้อน รักษาความอบอุ่นภายในรังเอาไว้ เมื่อภายนอกมีอุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้ก็ยังช่วยในการระบายและถ่ายเทอากาศให้กับรังผึ้งด้วย สำหรับวัสดุที่ใช้ มักจะใช้แผ่นกระดาษหรือไม้อัดแข็ง โดยมีไม้ตีเป็นกรอบขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ ขนาดของหีบเลี้ยง คือ ขนาด ๑๖ ๑/๔x ๑๗ นิ้ว เพื่อที่จะได้วางทับลงบนหีบได้พอดี ที่ตรงกลางของฝาชั้นในก็จะเจาะเป็นรูกลม ๑ รู เพื่อช่วยในการระบายอากาศ ฝาชั้นนอก เป็นฝาที่สวมครอบลงบนหีบเลี้ยง ทำหน้าที่กันฝนและแสงแดดให้กับรังผึ้ง ฝาชั้นนอกอาจจะใช้ไม้อัดธรรมดา ตัดขนาด ๑๖ ๑/๔x ๑๙ นิ้ว และที่ด้านบนของฝาชั้นนอกก็จะใช้สังกะสีปิดทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันเนื้อไม้ไม่ให้ผุเร็ว และยังช่วยให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์สะท้อนกลับ แผ่นฐานรวง หรือแผ่นรังเทียม ก็คือ แผ่นไขผึ้งที่พิมพ์ให้เป็นรอยตารางหกเหลี่ยมทั้งสองด้านและขนาดตารางหกเหลี่ยมนี้ จะเท่ากับขนาดของความกว้างของหลอดรวงของรวงผึ้งโพรงไทยตามธรรมชาติ ซึ่งเล็กกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง แผ่นฐานรวงผึ้งโพรงไทย ๑ ตารางนิ้ว จะมีจำนวน ๗๐ หลอดรวงทั้งสองด้าน โดยทั่วไปแล้วความกว้าง และความยาวของแผ่นฐานรวงจะมีขนาดพอดีที่จะถูกนำมาตรึงตรงกลางของคอนหรือกรอบรวง เพื่อเป็นการเร่งเวลาให้ผึ้งงานสร้างหลอดรวง ต่อจากรอยพิมพ์ที่เป็นตารางหกเหลี่ยมได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นการประหยัดแรงงานของผึ้งงานในการสร้างรวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาการเก็บน้ำผึ้ง เพราะจะมีผลต่อผลิตผลน้ำผึ้งที่เก็บสะสมได้ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการบังคับให้ผึ้งสร้างรวงอยู่แต่เฉพาะในกรอบรวงที่มีแผ่นฐานรวงตรึงติดอยู่เท่านั้น ทำให้รวงผึ้งที่ถูกสร้างขึ้นมาภายในรังผึ้งแต่ละรวงมีความเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นการประหยัดแรงงาน ตลอดทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เลี้ยงผึ้ง และกับผึ้งภายในรังนั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง แผ่นฐานรวงของผึ้งโพรงไทย จะหาซื้อได้ยากกว่าแผ่นฐานรวงของผึ้งโพรงฝรั่งซึ่งมีขนาดใหญ่ (ในเนื้อที่ ๑ ตารางนิ้ว จะมีจำนวน ๕๕ หลอดรวงทั้งสองด้าน) เหล็กงัดรังผึ้ง เมื่อเราจะปฏิบัติงานกับรังผึ้งรังหนึ่งๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีเหล็กงัดรังผึ้งซึ่งทำจากเหล็กเหนียวอย่างดี มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักในการที่ใช้งัดหีบเลี้ยงผึ้งให้แยกออกจากกันได้ เหล็กงัดผึ้งโดยทั่วไปจะมีปลายแบนข้างหนึ่ง เพื่อที่จะใช้กับช่องว่างระหว่างคอนแต่ละคอน หรือระหว่างชั้นของหีบเลี้ยงแต่ละชั้น นอกจากนั้นปลายด้านแบนนี้ยังใช้ในการแซะ ขูด เศษไขผึ้ง หรือยางไม้ที่ติดอยู่ภายในรัง และยังมีประโยชน์ในการขูดเหล็กในผึ้ง ให้หลุดจากผิวหนังของเรา ที่ถูกผึ้งต่อยได้อีกด้วย ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของเหล็กงัดรังจะโค้งเป็นมุมฉากออกไปประมาณ ๑ นิ้ว และมีรูอยู่ ปลายด้านนี้อาจใช้แทนค้อนในการตอกและงัดตะปู ในกรณีที่มีการตอกยึดส่วนประกอบของรังเลี้ยงผึ้งเข้าด้วยกัน ในการขนย้ายรังผึ้งจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง กระป๋องรมควัน เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังผึ้งมากพอๆ กับเหล็กงัดรังผึ้ง โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ ๓ ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกก็ คือกระป๋องที่ทำจากโลหะน้ำหนักเบา อาจเป็นสังกะสีเนื้อดี รูปทรงกระบอก มีฝาปิดเปิดได้สะดวก ที่ฝาทำเป็นรูปกรวยคว่ำและมีรูที่ปลายกรวยเพื่อบังคับทิศทางออกของควัน ส่วนที่สองคือหม้อลม ซึ่งจะใช้เป็นที่จับกระป๋องด้วย เมื่อเราบีบหม้อลม แรงดันอากาศก็จะผ่านท่ออากาศ และเข้าไปใต้กระป๋องที่มีวัสดุเชื้อเพลิงจุดไหม้อยู่ ทำให้เกิดควันพุ่งออกมาทางรูที่ปลายกรวย ชิ้นส่วนสุดท้ายก็คือ แผ่นโลหะบุ เป็นวัสดุที่เป็นฉนวนทนความร้อนห่อหุ้มภายนอกกระป๋อง เพื่อป้องกันผู้เลี้ยงผึ้งไปสัมผัสกับกระป๋องที่กำลังร้อนจัด สำหรับวัสดุเชื้อเพลิง ที่จะใช้จุดให้เกิดควันในกระป๋องนั้น ก็อาจจะใช้ขี้กบไสไม้ ฟาง หญ้าแห้ง เศษใบไม้แห้ง หรือเศษกระสอบป่านแห้งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยแบ่งจุดให้เป็นเชื้อไฟที่ก้นกระป๋องสักเล็กน้อย เมื่อไฟลุกหรือติดดีแล้วจึงค่อยเติมวัสดุเชื้อเพลิงลงไปให้เต็ม อาจใช้เหล็กงัดรังผึ้งกระทุ้งอัดให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้เกิดควันคุอยู่นาน ทำให้ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงหรือจุดใหม่อยู่บ่อยๆ เป็นการสะดวกในขณะปฏิบัติงานในลานเลี้ยงผึ้ง [กลับหัวข้อหลัก]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น